CHERTER 4 ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและกระบวนการทางธุรกิจ (ACCOUNTING INFORMATION SYSTEMS AND BUSINESS) บทที่ 4 ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและกระบวนการทางธุรกิจ (ACCOUNTING INFORMATION SYSTEMS AND BUSINESS)


บทที่ 4 ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและกระบวนการทางธุรกิจ (ACCOUNTING INFORMATION SYSTEMS AND BUSINESS)


การจัดการทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management)
          การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management = HRM) มีคำที่ใช้ใกล้เคียงกันหลายคำ เช่น การจัดการทรัพยากรคน การจัดการงานบุคคล การจัดการกำลังคน และการบริหารงานบุคคล คำที่พบในตำราภาษาไทยมากคือ คำว่า การบริหารงานบุคคล แต่ในปัจจุบันนิยมใช้คำว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ด้วยเหตุผลที่ว่ามนุษย์ถือว่าเป็นทรัพยากรที่มีค่ายิ่งและเป็นทรัพยากรที่สามารถปฏิบัติงานจนก่อให้เกิดผลงานสร้างสรรค์ต่อสังคมได้มากมายถ้าหากรู้จักนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์หรือเรียกว่าการบริหารทรัพยากรมนุษย์ได้ถูกต้อง
(ที่มา : http://pws.npru.ac.th)

        การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) หมายถึง  การจัดการในทุกๆด้านที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรในองค์การนั้นๆ ให้สามารถปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพเต็มความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคลให้มากที่สุด ในขณะเดียวกันก็เพิ่มพูนความรู้และความสามารถให้กับบุคลากรนั้นเพื่อสร้างขวัญกำลังใจและความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานอันจะก่อให้เกิดผลสำเร็จสูงสุดทั้งต่อองค์การและตัวบุคลากรนั้น ทั้งนี้รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การด้วยจัดเป็นงานที่มีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งในการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับบุคคลที่มีความหลากหลาย ต้องเสริมสร้างความสมรรถภาพการทำงาน ต้องลงทุนทั้งระยะเวลาและค่าใช้จ่ายเพื่อสร้างทักษะและความชำนาญรวมไปถึงการสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานให้มีบรรยากาศการทำงาน และสำคัญคือจะต้องรักษาบุคลากรนั้นๆ ให้อยู่ในองค์การให้ได้ตลอดไป ซึ่งหมายถึงการใช้คนให้ถูกวิธี ให้เหมาะกับงาน ให้ได้ผลงานมากที่สุด และรักษาคนดีให้อยู่ในองค์การให้นานที่สุด
(ที่มา : http://mpa2011.blogspot.com,2555)

        การพิจารณาบทบาทหน้าที่และการควบคุมการทำงานของบุคลากรให้ทำงานอย่างเต็มศักยภาพ กระบวนการแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
1. ระยะการคัดเลือกหรือได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ ในกระบวนการนี้มีกิจกรรมสำคัญอยู่ 4 ขั้นตอน ได้แก่
     1.1 ขั้นตอนการวางแผน เริ่มจากกำหนดอัตรากำลังทั้งในระยะสั้นและระยะยาว การคำนวณจำนวนบุคลากรที่จะรับตามกรอบอัตรากำลัง การจัดทำประวัติบุคลากร การประเมินความเปลี่ยนแปลงของอัตรากำลัง เช่น ลาออก โอน ย้าย หรือเกษียณ และการวางแผนพัฒนาทรัพยากร เช่น ให้การศึกษาอบรมเพื่อเพิ่มทักษะ
     1.2 ขั้นตอนการสรรหา เป็นการประกาศเชิญชวนผู้สนใจให้มาสมัคร  และอาจสรรหาจากทรัพยากรภายในองค์การหรือภายนอกองค์การก็ได้แต่ต้องให้เหมาะสมกับหน้าที่งาน กระบวนการสรรหาเริ่มจากการสอบแข่งขัน การสัมภาษณ์ หรือวิธีการอื่นๆ ตามที่กำหนดไว้
      1.3 ขั้นตอนการคัดเลือก วิธีการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานจะมีหลายรูปแบบหลักๆมักจะเป็นการ   วัดความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานในตำแหน่งนั้นๆ เช่น การตรวจสอบประวัติจากเอกสาร การ       สัมภาษณ์ การทดสอบความรู้ การทดสอบภาคปฏิบัติ และการทดสอบทางจิตวิทยา
       1.4 การปฐมนิเทศ คือ การแนะนำให้เข้าใจวัฒนธรรมขององค์กรระบบการทำงาน
2. ระยะการควบคุมดูแลและรักษาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างปฏิบัติงานในองค์กร ประกอบด้วย 
การประเมินผลงาน การจัดวางคน การฝึกอบรมและพัฒนา ระเบียบวินัย การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การช่วยเหลือให้คำปรึกษา การดูแลสุขภาพและความปลอดภัย ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ทรัพยากรมนุษย์สามารถทำงานได้อย่างเกิดประโยชน์สูงสุด
3. ระยะสุดท้าย คือการพ้นจากงาน การจัดสวัสดิการตอบแทนหลังเกษียณหรือการพ้นจากงานในกรณีอื่นๆเช่นการเลิกจ้าง
(ที่มา : https://www.im2market.com)

วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
          การบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะช่วยขยายบทบาทหน้าที่งานด้านทรัพยากรมนุษย์ให้มีขอบข่ายของการปฏิบัติที่กว้างขึ้น เพื่อครอบคลุมดูแลการปฏิบัติภารกิจต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับบุคลากรและองค์การ ดังนี้
1. เพื่อช่วยให้บุคลากรใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถปฏิบัติงานของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเพื่อช่วยองค์การดำเนินงานบรรลุผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
2. เพื่อช่วยคัดสรรบุคลากรที่มีคุณภาพ และมีแรงจูงใจใฝ่หาผู้ที่สำเร็จการศึกษาในระดับสูงเข้ามาปฏิบัติงาน
3. เพื่อยกระดับความสามารถ และสร้างความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร
4. เพื่อพัฒนา และธำรงรักษาบุคลากรที่มีคุณค่าให้ปฏิบัติงานในระดับที่พึงปรารถนาขององค์การ
          นอกจากนี้ วัตถุประสงค์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในภาพรวมยังสามารถตอบสนองความต้องการในระดับต่างๆ ได้ดังนี้
1. สนองความต้องการระดับสังคม  (Society’s Requirment)  โดยคำนึงถึงผลประโยชน์ที่สังคมจะได้รับ ให้บุคลากรทุกคนมีความเป็นอยู่อย่างเหมาะสม มีงานทำมีรายได้เพียงพอต่อการดำรงชีพ ตลอดจนพัฒนาบุคลากรให้มีความเป็นผู้นำที่ปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นที่ต้องการของสังคม
2. สนองความคาดหวังระดับการบริหารขององค์การ (Management’s ) ในการบริหารทรัพยากรมนุษย์ องค์การมีความคาดหวังที่จะได้บุคลากรที่มีศักยภาพในการปฏิบัติงานอย่างแท้จริง ซึ่งจะส่งผลทำให้องค์การเจริญเติบโตก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นงานด้ายการบริหารทรัพยากรมนุษย์ จึงต้องตระหนักภาระหน้าที่ที่สำคัญซึ่งเกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดคนเข้าทำงาน โดยดูแลตั่งแต่ก่อนเข้าปฏิบัติงาน ระหว่างปฏิบัติงาน และหลังปฏิบัติงาน เพื่อสร้างความมั่นใจ ความศรัทธา ให้แก่บุคลากรทุกคนที่จะเข้ามาร่วมงาน และสร้างความแข็งแกร่งให้องค์การต่อไป
3. สนองความต้องการระดับผู้ปฏิบัติงาน (Employee’s Need) องค์การจะต้องตระหนักเสมอว่า บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติงานทุกคนต่างมุ่งหวังที่จะมีวิธีการดำรงชีวิตที่ดีในสังคม ครอบครัวมีความสุข สังคมยอมรับยกย่อง และมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติงาน ดังนั้น ฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์จึงไม่ควรละเลยต่อความต้องการพื้นฐานที่บุคลากรทุกคนควรจะได้รับ เพราะ สิ่งเหล่านี้จะย้อนกลับมาสร้างความเจริญเติบโตให้แก่องค์การในท้ายที่สุด
(ที่มา : http://www.tpa.or.th,2555)

ความสำคัญของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
          ในการบริหารองค์กร มนุษย์นับเป็นทรัพยากรสำคัญที่จำเป็นและต้องใช้ทรัพยากรมนุษย์จำนวนมากในหลากหลายหน้าที่ เพราะทรัพยากรมนุษย์จะเป็นผู้สร้างสรรค์งานบริการและเป็นผู้ให้บริการด้านสุขภาพ ที่เน้นคุณภาพ มาตรฐาน ความปลอดภัย และคุณธรรมจริยธรรม ซึ่งการที่จะได้มาซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ การพัฒนาและการรักษาทรัพยากรมนุษย์ให้ทำงานให้กับองค์การอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนการออกจากองค์การไปด้วยดีนั้นล้วนต้องอาศัยการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีดังนั้น การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญกับการบริหารองค์การดังต่อไปนี้คือ
1. ทำให้มีบุคลากรทำงานที่เพียงพอและต่อเนื่อง เนื่องจากการจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะต้องมีการวางแผน          ทรัพยากรมนุษย์ โดยมีการทำนายความต้องการทรัพยากรมนุษย์ในอนาคต ซึ่งต้องสัมพันธ์กับทิศทางและแผนงานขององค์การ ตลอดจนกิจกรรมขององค์การที่คาดว่าจะมีในอนาคต นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงตลาดแรงงานของทรัพยากรมนุษย์เพื่อที่จะคาดการณ์ได้ว่าองค์การมีความต้องการทรัพยากรมนุษย์ประเภทใด จำนวนเท่าใด เมื่อใดทำให้สามารถวางแผนการรับคนเข้าทำงาน การฝึกอบรมและพัฒนาและการหาทรัพยากรอื่นมาทดแทนถ้าจำเป็น ซึ่งจะส่งผลให้องค์การมีบุคลากรทำงานอย่างเพียงพอตามความจำเป็น และมีบุคลากรที่ทำงานในหน้าที่ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับการขยายหรือหดตัวของธุรกิจขององค์การ ส่งผลให้องค์การสามารถดำเนินงานไปได้ตามทิศทางและบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ
2. ทำให้ได้คนดีและมีความสามารถเข้ามาทำงานในองค์การ การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่ดีจะนำมาสู่กระบวนการ    สรรหา คัดเลือกและบรรจุแต่งตั้งบุคคลที่เป็นคนดีและมีความสามารถสอดคล้องกับความต้องการขององค์การ
3. ทำให้มีการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การฝึกอบรมและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์นับเป็นบทบาทหนึ่งของการจัดการ      ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งการฝึกอบรมและพัฒนาจะเกี่ยวข้องกับคนที่ทำงานในองค์การ ทั้งคนที่รับเข้ามาทำงานใหม่และคนที่ทำงานอยู่เดิม เพื่อเพิ่มศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์เหล่านี้ให้ทำงานได้ ทำงานเป็นทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นและทำงานได้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ ในการบริหารองค์การ
4. ทำให้มีการบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการแก่บุคลากรอย่างเหมาะสม การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่จะทำให้เกิด การพิจารณาเรื่องค่าตอบแทนและสวัสดิการที่เหมาะสมกับการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ เป็นการดึงดูดและรักษาคนให้คงอยู่กับองค์การ มีขวัญและกำลังใจในการทำงานให้กับองค์การ
5. ทำให้เกิดการป้องกันและแก้ไขพฤติกรรมที่เบี่ยงเบนของบุคลากร   ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะมีการวางกฎ ระเบียบด้านวินัยของบุคลากรหรือคนทำงานให้เป็นไปตามสภาพลักษณะงานและวัตถุประสงค์ขององค์การ
6. ทำให้เกิดการประเมินผลงานของบุคลากรที่เหมาะสมและสนับสนุนคนทำงานดี  การจัดการทรัพยากรมนุษย์ที่มี    การกำหนดกระบวนการประเมินผลงานของบุคคลากรที่ดีและเป็นธรรมจะส่งผลให้มีการให้รางวัล การเลื่อนตำแหน่งแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานดีและการลงโทษผู้ที่ปฏิบัติงานไม่ดีและก่อให้เกิดความเสียหายแก่องค์การ 
อันเป็นการสร้างแรงจูงใจบุคลากรให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
7. ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างคนทำงานด้วยกันและคนทำงานกับผู้บริหาร เนื่องจากการจัดการทรัพยากร    มนุษย์จะให้ความสำคัญกับการพัฒนาความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนทำงานด้วยกัน และระหว่างคนทำงานกับผู้บริหารหรือแรงงานสัมพันธ์เพื่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน และเป็นการลดความขัดแย้งและกรณีพิพาทต่าง ๆ ที่จะส่งผลลบต่อองค์การ
          โดยสรุปแล้ว การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีความสำคัญต่อการบริหารองค์การ เพราะต้องใช้มนุษย์เป็นผู้ให้บริการที่สำคัญ ซึ่งการจัดการทรัพยากรมนุษย์จะช่วยให้มีคนทำงานที่เพียงพอและต่อเนื่องได้ คนดีมีความสามารถมาทำงานที่เหมาะสมกับงาน มีการรักษาคนให้อยู่กับองค์การโดยมีการพัฒนาการให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการ และการประเมินผลที่เหมาะสม ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับคนทำงาน ซึ่งจะส่งผลให้สามารถ
ใช้ศักยภาพของทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างเหมาะสมในการทำงานให้องค์การบรรลุตามวัตถุประสงค์
(ที่มา : http://www.chaiwut.net)

ขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์
          ขอบเขตของการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้นมีความกว้างและครอบคลุมหลายด้าน ดังนี้
1. ด้านบุคคล
          การบริหารทรัพยากรมนุษย์เกี่ยวพันโดยตรงกับงานฝ่ายบุคคลส่วนต่าง ๆ เช่น
                             – การวางแผนเกี่ยวกับกำลังคนหรือการวางแผนทรัพยากรมนุษย์
                             – การสรรหาบุคลากร
                             – การคัดเลือกบุคลากร
                             – การบรรจุหรือแต่งตั้งบุคลากร
                             – การโยกย้ายบุคลากร
                             – การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง
                             – การฝึกอบรม ฝึกปฏิบัติการและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
                             – การเลิกจ้างและการยุบตำแหน่ง
                             – การจัดการบริหารค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ที่พนักงานพึงได้
                             – การสร้างแรงจูงใจด้วยการให้เงินเดือนขึ้น
                             – การประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากร
2. ด้านสวัสดิการ
          การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับการจัดการสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ให้เอื้ออำนวยต่อการทำงานให้มากที่สุด เช่น
                             – การดูแลโรงอาหาร ห้องพักกลางวัน ห้องอาหาร
                             – การจัดการที่พักอาศัยให้กับพนักงาน
                             – การจัดการด้านการคมนาคมขนส่ง
                             – การอำนวยความสะดวกด้านการแพทย์ เช่น ดูแลห้องพยาบาล
                             – การจัดการการให้ทุน หรือส่งเสริมด้านการศึกษาให้กับพนักงาน
                             – การจัดการบริหารค่าตอบแทนให้พนักงานอย่างเหมาะสม
                             – การดูแลด้านสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน
                             – การจัดการสถานที่พักผ่อนหย่อนใจหรือจัดกิจกรรมสันทนาการให้กับพนักงาน
3. ด้านความสัมพันธ์กับธุรกิจและองค์กร
          การบริหารทรัพยากรมนุษย์ยังครอบคลุมถึงการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างบุคลากรกับองค์กรในด้านต่าง ๆ เช่น
                             – การส่งเสริมเรื่องแรงงานสัมพันธ์
                             – การจัดการการประชุมระหว่างผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้าง
                             – การจัดการการเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง
                             – การจัดการเรื่องการร้องทุกข์ของบุคลากร
                             – การดำเนินการเกี่ยวกับระเบียบวินัยของพนักงาน
                             – การจัดการการระงับข้อพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้างและพนักงานทั่วไป
(ที่มา : https://th.jobsdb.com,2561)


กระบวนการผลิต
              กระบวนการผลิตประเภทใดที่ผู้ผลิต และบริษัทผู้ให้บริการใช้ ในการวางแผนการผลิตการตัดสินใจครั้งแรกเกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตประเภทใด วิธีสร้างสินค้าหรือบริการที่ดีที่สุดเหมาะสมกับเป้าหมายของ บริษัท และความต้องการของลูกค้าการพิจารณาที่สำคัญคือประเภทของสินค้าหรือบริการที่กำลังผลิตเนื่องจากสินค้าที่ต่างกันอาจต้องการกระบวนการผลิตที่แตกต่างกัน โดยทั่วไปการผลิตมีสามประเภท: การผลิตจำนวนมากการปรับแต่งจำนวนมากและการปรับแต่ง นอกเหนือจากประเภทการผลิต  ผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการยังจัดประเภทกระบวนการผลิตในสองวิธี คือ
                          1. วิธีการแปลงอินพุตเป็นเอาต์พุตและ 
                          2. ระยะเวลาของกระบวนการ
              การผลิตจำนวนมากผลิตสินค้าที่เหมือนกันจำนวนมากในครั้งเดียวเป็นผลิตภัณฑ์ของการปฏิวัติอุตสาหกรรม รถยนต์ Model-T ของHenry Fordเป็นตัวอย่างที่ดีของการผลิตจำนวนมาก รถแต่ละคันเปิดออกโดยฟอร์ดโรงงานของนั้นเหมือนกันหมดไปจนถึงสีของมัน หากคุณต้องการรถสีใดก็ได้ยกเว้นสีดำแสดงว่าคุณไม่มีโชคสินค้ากระป๋องยาที่ขายตามเคาน์เตอร์และเครื่องใช้ในครัวเรือนเป็นอีกตัวอย่างของสินค้าที่ผลิตเป็นจำนวนมาก ความสำคัญในการผลิตจำนวนมากคือการรักษาต้นทุนการผลิตให้ต่ำโดยการผลิตผลิตภัณฑ์ที่เหมือนกันโดยใช้กระบวนการที่ทำซ้ำและได้มาตรฐาน เมื่อผลิตภัณฑ์มีความซับซ้อนในการผลิตการผลิตจำนวนมากก็มีความซับซ้อนมากขึ้น 
         ยกตัวอย่างเช่นผู้ผลิตรถยนต์จะต้องผนวกรวมอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่มีความซับซ้อนเข้ากับการออกแบบรถยนต์ของพวกเขาเป็นผลให้จำนวนสถานีประกอบในโรงงานผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่เพิ่มขึ้นสำหรับคุณโดยเฉพาะการปรับแต่งสินค้าในการปรับแต่งจำนวนมากสินค้าจะถูกผลิตโดยใช้เทคนิคการผลิตจำนวนมาก แต่จนถึงจุดหนึ่ง ณ จุดนั้นผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นได้รับการปรับแต่งให้เหมาะกับความต้องการหรือความต้องการของลูกค้ารายบุคคล
        ตัวอย่างเช่น American Leather ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่ใช้ดัลลัสใช้การปรับแต่งจำนวนมากเพื่อผลิตโซฟาและเก้าอี้ตามข้อกำหนดของลูกค้าภายใน 30 วัน เฟรมพื้นฐานในเฟอร์นิเจอร์เหมือนกัน แต่เครื่องจักรตัดอัตโนมัติช่วยให้สีและประเภทของหนังสั่งซื้อจากลูกค้าแต่ละราย โดยใช้เทคนิคการผลิตจำนวนมากพวกเขาจะถูกเพิ่มเข้าไปในแต่ละเฟรม
       การปรับแต่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับการผลิตจำนวนมาก ในการปรับแต่ง บริษัท ผลิตสินค้าหรือบริการทีละครั้งตามความต้องการเฉพาะหรือความต้องการของลูกค้ารายบุคคซึ่งแตกต่างจากการปรับแต่งจำนวนมากแต่ละผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ผลิตมีเอกลักษณ์ ตัวอย่างเช่นโรงพิมพ์อาจจัดการกับโครงการที่หลากหลายรวมถึงจดหมายข่าวแผ่นพับเครื่องเขียนและรายงาน งานพิมพ์แต่ละงานจะแตกต่างกันในปริมาณประเภทของกระบวนการพิมพ์การผูกสีของหมึกและชนิดของกระดาษบริษัทผลิตที่ผลิตสินค้าในการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อของลูกค้าที่เรียกว่าร้านงานการจำแนกประเภทการผลิต

การแปลงอินพุตเป็นเอาต์พุต
         ตามที่ระบุไว้ก่อนหน้าการผลิตเกี่ยวข้องกับการแปลงปัจจัยการผลิต (ทรัพยากรธรรมชาติวัตถุดิบทรัพยากรมนุษย์ทุน) เป็นผลผลิต (ผลิตภัณฑ์หรือบริการ) ใน บริษัท ผู้ผลิตปัจจัยการผลิตกระบวนการผลิตและผลลัพธ์สุดท้ายมักจะชัดเจน ตัวอย่างเช่นHarley-Davidsonแปลงเหล็กยางสีและปัจจัยอื่น ๆ เป็นรถจักรยานยนต์ แต่กระบวนการผลิตใน บริษัท ที่ให้บริการเกี่ยวข้องกับการแปลงที่ชัดเจนน้อยกว่า ตัวอย่างเช่นโรงพยาบาลแปลงความรู้และทักษะของบุคลากรทางการแพทย์พร้อมกับอุปกรณ์และวัสดุสิ้นเปลืองจากแหล่งต่างๆเพื่อการบริการด้านสุขภาพสำหรับผู้ป่วย มีสองกระบวนการพื้นฐานสำหรับการแปลงอินพุตเป็นเอาต์พุต ในการผลิตตามกระบวนการปัจจัยการผลิตขั้นพื้นฐาน (ทรัพยากรธรรมชาติวัตถุดิบ) จะถูกแบ่งออกเป็นผลผลิตหนึ่งรายการหรือมากกว่า ตัวอย่างเช่นบอกไซต์ (อินพุต) ถูกประมวลผลเพื่อแยกอลูมิเนียม (ผลลัพธ์) ขั้นตอนการประกอบเป็นเพียงที่อยู่ตรงข้าม ปัจจัยพื้นฐาน   เช่นทรัพยากรธรรมชาติวัตถุดิบหรือทรัพยากรมนุษย์ถูกรวมเข้าด้วยกันเพื่อสร้างผลผลิตหรือการเปลี่ยนแปลงเข้าไปในเอาต์พุต ตัวอย่างเช่นเครื่องบินถูกสร้างขึ้นโดยการประกอบชิ้นส่วนหลายพันชิ้นซึ่งเป็นข้อมูลวัตถุดิบ ผู้ผลิตเหล็กใช้ความร้อนในการเปลี่ยนเหล็กและวัสดุอื่น ๆ เป็นเหล็ก ในการบริการลูกค้าอาจมีบทบาทในกระบวนการเปลี่ยนแปลง ตัวอย่างเช่นบริการจัดเตรียมภาษีรวมความรู้ของผู้จัดเตรียมภาษีกับข้อมูลของลูกค้าเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลเพื่อให้การคืนภาษีเสร็จสมบูรณ์ เวลาการผลิต ข้อพิจารณาที่สองในการเลือกกระบวนการผลิตคือกำหนดเวลา กระบวนการ ที่ต่อเนื่องใช้ผลิตวิ่งยาวที่อาจมีอายุวันสัปดาห์หรือเดือนโดยไม่ต้องหยุดซ่อมบำรุงอุปกรณ์ เหมาะที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณมากและมีความหลากหลายต่ำพร้อมชิ้นส่วนที่ได้มาตรฐานเช่นเล็บแก้วและกระดาษ บริการบางอย่างยังใช้กระบวนการต่อเนื่อง บริษัท ไฟฟ้าท้องถิ่นของคุณเป็นตัวอย่าง ต้นทุน ต่อหน่วยต่ำและการผลิตง่ายต่อการกำหนดเวลา
               ในกระบวนการต่อเนื่องจะใช้การผลิตแบบสั้นเพื่อทำแบทช์ของผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เครื่องจักรจะปิดตัวลงเพื่อเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในเวลาต่างกัน กระบวนการนี้ดีที่สุดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณน้อยและหลากหลายเช่นที่ผลิตโดยการปรับแต่งจำนวนมากหรือการปรับแต่ง ร้านค้าหางานเป็นตัวอย่างของ บริษัท ที่ใช้กระบวนการไม่ต่อเนื่อง แม้ว่า บริษัท ผู้ให้บริการบางรายจะใช้กระบวนการต่อเนื่อง แต่บริษัท ผู้ให้บริการส่วนใหญ่มักใช้กระบวนการที่ไม่ต่อเนื่อง ตัวอย่างเช่นร้านอาหารที่เตรียมอาหารรสเลิศแพทย์ ที่ทำการผ่าตัดและตัวแทนโฆษณาที่พัฒนาแคมเปญโฆษณาสำหรับลูกค้าธุรกิจล้วนแล้วแต่ปรับแต่ง การบริการให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย พวกเขาใช้กระบวนการไม่ต่อเนื่อง โปรดทราบว่า  "การดำเนินการผลิต" อาจสั้นมาก – ปลาแซลมอนย่างหนึ่งตัวหรือการตรวจร่างกายครั้งละหนึ่งครั้ง
(ที่มา : 
https://opentextbc.ca)

กระบวนการทางการเงิน
              กระบวนการทางการเงินหมายถึงวิธีการและขั้นตอนเสร็จสมบูรณ์โดยสำนักงานการคลัง พวกเขารวมถึงแต่ไม่จำกัดเฉพาะการเก็บรวบรวมข้อมูลการจัดทำงบประมาณการวางแผน (การวางแผนเชิงกลยุทธ์กำไรขาดทุนและการวางแผนงบดุลการวางแผนทรัพยากรบุคคลการวางแผนทุนการวางแผนโครงการการวางแผนกำลังการผลิตและกำลังการผลิตการ วางแผนการขายและการดำเนินงานเป็นต้น)การคาดการณ์ (การพยากรณ์ระยะยาวการคาดการณ์การหมุนการพยากรณ์กระแสเงินสดและอื่นๆ)การสร้างแบบจำลองการเงินปิดการรวบรวมการรายงาน (การจัดการตามกฎหมายการเปิดเผย)
(ที่มา https://www.tagetik.com)                

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม