CHERTER 12 การบัญชีบนอินเตอร์เน็ต

บทที่ 12 การบัญชีบนอินเตอร์เน็ต


                                                                   https://th.pngtree.com/free-backgrounds-photos/
อินเตอร์เน็ต Internet
ความหมายของอินเตอร์เน็ต      
       อินเตอร์เน็ต (Internet) นั้นย่อมาจากคำว่า “International network” หรือ “Inter Connection network” ซึ่งหมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อให้เกิดการสื่อสาร และการแลกเปลี่ยนข้อมูลร่วมกัน โดยอาศัยตัวเชื่อมเครือข่ายภายใต้มาตรฐานการเชื่อมโยงเดียวกัน นั่นก็คือ TCP/IP Protocol ซึ่งเป็นข้อกำหนดวิธีการติดต่อสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย ซึ่งโปรโตคอลนี้จะช่วยให้คอมพิวเตอร์ที่มีฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันสามารถติดต่อถึงกันได้ การที่มีระบบอินเตอร์เน็ต ทำให้สามารถเคลื่อนย้ายข่าวสารข้อมูลจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งได้ โดยไม่จำกัดระยะทาง ส่งข้อมูลได้หลายรูปแบบ ทั้งข้อความตัวหนังสือ ภาพ และ เสียง โดยอาศัยเครือข่ายโทรคมนาคมเป็นตัวเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ตนับเป็นอภิระบบเครือข่ายที่ยิ่งใหญ่มากมีเครื่องคอมพิวเตอร์หลายล้านเครื่องทั่วโลกเชื่อมต่อกับระบบ ทำให้คนในโลกทุกชาติทุกภาษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้โดยไม่ต้องเดินทางไปโลกทั้งโลกเปรียบเสมือนเป็นบ้านหนึ่งที่ทุกคนในบ้านสามารถพูดคุยกันได้ตลอด 24 ชั่วโมง ประหยัดเวลา ค่าใช้จ่าย แต่เกิดประโยชน์ต่อสังคมโลกปัจจุบันมาก
 (ที่มา : http://computer.bcnnv.ac.th)
ความหมายของเวิลด์ไวด์เว็บ
          เวิลด์ไวด์เว็บ นิยมเรียกสั้นๆ ว่าเว็บ หรือ WWW ถือเป็นส่วนที่น่าสนใจที่สุดบนอินเทอร์เน็ตเพราะสามารถแสดงสารสนเทศต่างๆ ได้หลากหลาย เช่น นิตยสารหรือหนังสือพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลด้านดนตรีกีฬา การศึกษา ซึ่งสามารถนำเสนอได้ทั้งภาพ เสียง รวมถึงภาพเคลื่อนไหว เช่นแฟ้มภาพวีดิทัศน์หรือตัวอย่างภาพยนตร์ และการสืบค้นสารสนเทศในเวิลด์ไวด์เว็บนั้นจำเป็นต้องอาศัยโปรแกรมค้นดูเว็บ (web browser)ในการเข้าถึงแหล่งข้อมูล โดยที่เว็บกับโปรแกรมค้นผ่านจะทำหน้าที่รวบรวมและกระจายเอกสารที่เครือข่ายที่ทำไว้
(ที่มา : https://yupapanbeam.wordpress.com)

เบราด์เซอร์ (Browser)
          ชนิดหนึ่งที่ใช้ในการแสดงผลข้อมูลเว็บต่างๆทั้งในรูปแบบของ HTML (Hypertext Markup language), PHP, CGI, JavaScript ต่างๆเพื่อใช้ในการค้นหาข้อมูลเพื่อความบันเทิงหรือธุรกรรมอื่นๆเป็นต้น
           ในอดีตนั้น Web Browserที่ได้รับความนิยมอย่างสูงสุดคงหนีไม่พ้น Web Browser ของ Netscape ในช่วงนั้น Microsoft ยังไม่ได้ให้ความสนใจเกี่ยวกับ Web Browser มากนัก แต่ต่อมาไม่นาน Internet ก็ได้มีความเจริญมากขึ้นตามลำดับ Microsoftจึงได้ปล่อย Web Browser ชนิดหนึ่งออกมาสู้กับทาง Netscape นั้นคือIE (Internet Explorer) ในช่วงแรกของการแข่งขันนั้นทั้ง ได้มีผู้ใช้งานอย่างสูสีกันมาตลอดแต่ในที่สุด IE ก็ได้รับชัยชนะไปและได้รับความนิยมมาจนถึงปัจจุบันแต่แล้วในปัจจุบันได้มี webBrowser น้องใหม่ออกมาอีกหนึ่งตัวนั้นคือMozilla Firefox ซึ่งได้ออกมาในภาพลักษณ์ของ web browser ที่มีความปลอดภัยสูงและโหลดหน้าwebpage ได้เร็วกว่าทาง Mozilla ได้ออกมาบอกว่าได้มีผู้โหลดโปรแกรมนี้ไปใช้งานมากกว่า ล้านครั้งและมีทีท่าว่าจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆบัดนี้สงคราม web browser ทั้ง กำลังดำเนินไปอย่างดุเดือด
(ที่มา : http://www.viruscom2.com)
กรุ๊ปแวร์ (Groupware)
          กรุ๊ปแวร์ (Groupware) คือ โปรแกรมที่สนับสนุนการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีมและ มักเป็นเครื่องมือในการประสานงานระหว่างการทำงานที่ทำให้ผู้ใช้หลายคนสามารถใช้สารสนเทศ ร่วมกันกับผู้อื่นและทำงานร่วมกันในหลาย ๆ โครงการโดยมีผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน โปรแกรมการจัดการการติดต่อบนเครือข่ายสำเร็จรูปและไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ไปจนถึงโปรแกรมการใช้ เอกสารร่วมกัน นอกจากนี้กรุ๊ปแวร์ยังเป็นเครื่องมือในเก็บรวบรวมและบำรุงรักษาความรู้ และความเชี่ยวชาญขององค์กรเพื่อมาแบ่งปันกับทุกคนและทำให้เกิดการจัดการความรู้ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญของความร่วมมือภายในองค์กร โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
XBRL (eXtensible Business Reporting Language)
          คือระบบภาษาทางอิเล็กทรอนิกที่ถูกสร้างขึ้นโดยใช้เทคโนโลยีเครือขายอินเทอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ในการสื่อสารข้อมูลเป็นการติดรหัสแถบ(Barcode)ของรายการต่างๆของงบการเงินที่นำเสนอซึ่งเป็นการอ้างถึงภาษามาตรฐานของรายงานทางการเงินผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก เป็นภาษาทางคอมพิวเตอร์ที่ออกแบบเป็นพิเศษสำหรับการนำเสนองบการเงินที่เป็นเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในรูปแบบของสื่อที่คอมพิวเตอร์สามารถอ่านได้ นอกเหนือไปจากรูปแบบ PDF, HTML หรือรูปแบบ Word/Excel ที่คุ้นเคยกันมาแต่อดีต ในรูปแบบรายงานทางการเงิน ซึ่งการทำงานของ XBRL เปรียบได้กับการทำงานของเครื่องอ่านบาร์โค้ด ทำให้การทำงานถูกต้องแม่นยำยิ่งขึ้น เพิ่มความรวดเร็ว และสามารถลดข้อจำกัดในการรวบรวมเอกสารที่มาจากแหล่งต่างที่กัน ช่วยจัดเก็บเอกสารในรูปแบบที่ทันสมัย สอดคล้องกับเทคโนโลยีในปัจจุบัน ในปัจจุบันนี้ เทคโนโลยี XBRL มีบทบาทสำคัญอย่างมากต่อการนำส่งงบการเงินผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Filing) ซึ่งถูกใช้งานกันอย่างกว้างขวางในระดับนานาประเทศรวมถึงประเทศไทย โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้ากำหนดให้มีการเปลี่ยนแปลงวิธีการนำส่งงบการเงินของบริษัทนิติบุคคลทั้งระบบทั่วประเทศใหม่ทั้งหมดซึ่งจากเดิมเคยส่งด้วยรูปแบบเอกสาร(Hardcopy)มาเป็นรูปแบบใหม่ในระบบอิเล็กทรอนิกส์ผ่านเทคโนโลยี XBRL มีการประมวลผลแบบทันที (Real Time) ช่วยลดการจัดเก็บเอกสารจำนวนมาก อีกทั้งยังเป็นการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการในการนำส่งงบการเงิน
(ที่มา : http://www.mindphp.com)

Electronic Commerce หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
          หมายถึง การทำธุรกรรมทางเศรษฐกิจที่ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น การซื้อขายสินค้าและบริหาร การโฆษณาสินค้า การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
          จุดเด่นของ E-Commerce คือ ประหยัดค่าใช้จ่าย และเพิ่ม ประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยลดความสำคัญขององค์ประกอบของธุรกิจที่มองเห็นจับต้องได้ เช่นอาคารที่ทำการ ห้องจัดแสดงสินค้า (show room) คลังสินค้า พนักงานขายและพนักงานให้บริการต้อนรับลูกค้า เป็นต้น ดังนั้นข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์คือ ระยะทางและเวลาทำการแตกต่างกัน จึงไม่เป็นอุปสรรคต่อการทำธุรกิจอีกต่อไป

อุปกรณ์และวิธีการทำ E-commerce
          อุปกรณ์เทคโนโลยีสารสนเทศประกอบด้วย ระบบสื่อสารโทรคมนาคม ระบบคอมพิวเตอร์และระบบฐานข้อมูล ระบบสื่อสารอาจเป็นระบบพื้นฐานทั่วไป เช่นระบบโทรศัพท์ โทรสาร หรือวิทยุ โทรทัศน์ แต่ระบบอินเทอร์เน็ตซึ่งเชื่อมโยงถึงกันได้ทั่วโลก เป็นระบบเปิดกว้าง โดยเป็นระบบเครือข่ายของเครือข่าย ที่เรียกว่า world wide web มาจากความเป็นเอกลักษณ์คือสามารถสร้างให้มี hyperlink จากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง ไป webpage อื่น หรือไป website อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังสามารถสื่อได้ทั้งภาพ เสียง และภาษาหนังสือที่หลากหลายซับซ้อน สามารถมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันได้ทันทีทันใด ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์สามารถบันทึกเก็บไว้หรือนำใช้ต่อเนื่องได้ การประยุกต์ใช้ และกระแสตอบรับธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตจึงแพร่หลายภายในระยะเวลาอันสั้น
          E-Commerce ใช้ติดต่อกับลูกค้าได้หลายระดับ ธุรกิจกับลูกค้า ธุรกิจกับธุรกิจ ธุรกิจกับภาครัฐ ฯ สาระของการติดต่อจะมี 4-5 ประการ คือ
          การขาย รวมการโฆษณา แสดงสินค้า เสนอราคา สั่งซื้อ คำนวณราคา
          การชำระเงิน การตกลงวิธีชำระเงิน สั่งโอนเงิน ให้ข้อมูลบัญชีธนาคารที่ใช้ตัดบัญชี ตลอดจนเงินดิจิทัลรูปแบบใหม่ ๆ
          การขนส่ง แจ้งวิธีการส่งมอบของ ค่าขนส่ง และสถานที่ติดต่อและระบบติดตามสินค้าที่ส่ง
          บริการหลังการขาย การติดต่อภายในบริษัท เช่นระบบบัญชี คลังสินค้า ระบบสั่งซื้อสินค้าและวัตถุดิบ สั่งผลิต ตลอดจนบริการลูกค้าหลังการขาย
(ที่มา : www.onestopware.com)

บทบาทภาครัฐกับ E-Commerce
          เนื่องจากการทำธุรกิจดังกล่าวมีการแข่งขันกันร้อนแรง ส่วนใหญ่อยู่ในรูปข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นไปได้ที่คู่ค้าอาจไม่เคยรู้จักติดต่อกันมาก่อน ปัจจัยสนับสนุนสำคัญจากภาครัฐได้แก่ แผนกลยุทธ์การค้าอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อมิให้เสียเปรียบเชิงการค้าในระดับโลก โครงสร้างการสื่อสารที่ดีและเพียงพอ กฎหมายรองรับข้อมูลและหลักฐานการค้าที่ไม่อยู่ในรูปเอกสาร ระบบความปลอดภัยข้อมูลบนเครือข่ายและระบบการชำระเงิน
E-Government เป็นอีกมิติหนึ่งของการให้บริการภาครัฐออนไลน์ที่จะเอื้อให้ธุรกิจ ประชาชน ติดต่อใช้บริการ ในกรอบบริการงานแต่ละด้านของส่วนราชการต่าง ๆ เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทยให้บริการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์แก่สถาบันการเงิน กรมทะเบียนการค้าให้บริการจดทะเบียนการค้า เป็นต้น นอกจากนี้ การทำ E-Procurement เพื่อการจัดซื้อจัดหาภาครัฐก็เป็นบริการที่ควรดำเนินการ เพราะจะช่วยให้เกิดความโปร่งใส และเป็นไปตามกรอบนโยบายของที่ประชุมเอเปกด้วย

ความปลอดภัยกับ E-Commerce
          ระบบความปลอดภัยนับเป็นเรื่องที่โดดเด่นที่สุด และมีเทคโนโลยีความปลอดภัยคือ Public Key ซึ่งมีองค์กรรับรองความถูกต้องเรียกว่าCA (Certification Authority) ระบบนี้ใช้หลักคณิตศาสตร์คำนวณรหัสคุมข้อความจากผู้ส่งและผู้รับอย่างเฉพาะเจาะจงได้จึงสามารถพิสูจน์ตัวตนของผู้รับผู้ส่ง(Authentication) รักษาความปลอดภัยของข้อมูล (Confidentiality) ความถูกต้องไม่คลาดเคลื่อนของข้อมูล (Integrity) และผู้ส่งปฏิเสธความเป็นเจ้าของข้อมูลไม่ได้ (Non-repudiation) เรียกว่าลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือการมีกฎหมายรองรับการทำธุรกรรมบนเครือข่าย ประเทศในยุโรปและประเทศสหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ และกฎหมายรองรับการทำธุรกิจดังกล่าว สำหรับในประเทศไทยก็เร่งจัดการออกกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับ โดยกฎหมาย ฉบับแรกที่จะออกใช้ได้ก่อนคือ กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์และกฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์

การชำระเงินบน E-Commerce
          จากผลการวิจัยพบว่า วิธีการชำระเงินที่สำคัญสำหรับกรณีธุรกิจกับธุรกิจ ร้อยละ 70 ใช้วิธีหักบัญชีธนาคาร ขณะที่ ธุรกิจกับผู้บริโภคร้อยละ 65 ชำระด้วยบัตรเครดิต
สำหรับในประเทศไทย ผลการสำรวจพบว่าผู้สั่งสินค้าบนอินเทอร์เน็ตร้อยละ 40-60 ใช้บัตรเครดิต อีกร้อยละ 40 ใช้วิธีโอนเงินในบัญชี ซึ่งหมายความรวมถึง Direct Debit, Debit Card และ Fund Transfer เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ระบบการชำระเงินบนอินเทอร์เน็ต มีแนวทางการพัฒนาเพื่อบริการชำระเงินดังนี้
  1.บริการinternet banking และ/หรือธุรกิจประเภท Payment Gateway จะเป็น hyperlink ระหว่าง website ของร้านค้ากับระบบของธนาคาร และธนาคารสามารถดำเนินการตามข้อมูลที่ได้รับเพื่อตัดโอนเงินในบัญชีของลูกค้า หรือส่งเป็นคำสั่งโอนเข้าระบบการชำระเงินระหว่างธนาคารที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่ได้มาตรฐาน
          2. สำหรับการชำระเงินที่เป็น Micro Payment การใช้เงินดิจิทัลซึ่งบันทึกบนบัตรสมาร์ตการ์ด หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ สามารถสร้างเสริมระบบความปลอดภัยให้มั่นใจได้เหนือกว่าระบบบัตรเดบิตและบัตรเครดิตทั่วไป จึงเป็นแนวโน้มเทคโนโลยีที่น่าสนใจและเหมาะสม
(ที่มา : https://guru.sanook.com/3871)

E-Payment จ่ายเงินออนไลน์ง่ายๆ ไม่ต้องพกเงินสด
ในปัจจุบันรูปแบบการใช้ชีวิตของมนุษย์ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปตามความเจริญก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี ที่ได้มีการพัฒนาไปข้างหน้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อแสวงหาความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตให้มากขึ้น ดังเช่นการพัฒนาระบบการชำระเงินแบบ e-Payment หรือ Electronic Payment System ที่ถูกสร้างขึ้นมาให้สอดคล้องกับการใช้งานของเทคโนโลยี และวิถีชีวิตของคนในปัจจุบัน ซึ่งจะมีลักษณะเป็นกระบวนการส่งมอบในลักษณะของการโอนชำระเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ทันสมัย เช่น ระบบอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน ที่มีตัวกลาง Payment Gateway ในรูปแบบ Website ที่ทำให้สามารถทำการชำระค่าบริการ หรือทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ผ่านบัตรเครดิตได้
E-Payment
          โดยทั้งหมดนี้ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล เพื่อลดงบประมาณในการผลิตธนบัตร ลดปัญหาในการฟอกเงิน หลบเลี่ยงภาษี เพื่อทำให้การเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และทำให้การทำธุรกรรมทางการเงินต่างๆ ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งระบบ Electronic Payment System นี้จะอยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งหากธุรกิจใดที่ต้องการใช้งาน จำเป็นจะต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทยก่อนเกิดการใช้งาน และธุรกิจ Electronic Payment System ที่อยู่ภายใต้การดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทยประกอบด้วยบริการทั้งหมด ประเภทดังนี้
          1. การเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) คือมูลค่าของเงินที่ถูกบันทึกในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งอาจมาจากการใช้ชำระค่าสินค้า หรือทำธุรกรรมอื่นๆ แทนเงินสด
          2.บริการเครือข่ายของบัตรเครดิต คือเครือข่ายที่จะให้บริการในการรับส่งข้อมูลทางการเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ไปยังผู้ให้บริการบัตรเครดิตต่างๆ
          3. บริการเครือข่าย EDC Network คือจุดเชื่อมโยงเครือข่ายของการให้บริการอุปกรณ์ หรือเครื่องมือที่รับส่งข้อมูลการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ
          4. บริการสวิตชิ่งในการชำระเงิน (Transaction Switching) คือบริการที่เป็นส่วนรวม หรือจุดเชื่อมต่อของการรับส่งข้อมูลการชำระเงิน ให้กับผู้ให้บริการตามที่ได้ตกลงกันไว้
          5. บริการหักบัญชี (Clearing) คือการบริการในการรับส่งข้อมูล ตรวจสอบ และยืนยันในคำสั่งของการชำระเงิน เพื่อให้กระบวนการชำระดุลระหว่างเจ้าหนี้ และลูกหนี้ให้สำเร็จ
          6. บริการชำระดุล (Settlement) คือบริการระบบการชำระเงินที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้า เพื่อหักเงินของผู้ใช้บริการไปให้เจ้าหนี้
          7. บริการรับชำระเงินแทน บริการที่คิดขึ้นมาเพื่อชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์แทนเจ้าหนี้
          8. บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ผ่านอุปกรณ์ หรือผ่านทางเครือข่าย เป็นการชำระเงินผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ แต่จะไม่มีการเก็บเงินไว้
(ที่มา : https://www.am2bmarketing.co.th)
E-Wallet
          E-Wallet คือ กระเป๋าเงินส่วนตัวของสมาชิก เพื่อใช้ซื้อสินค้าเว็บไซด์เว็บ Bookbik เท่านั้นซึ่ง e-wallet เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ให้ความสะดวกกับเพื่อนสมาชิกในการซื้อสินค้า ( โดยทั่วไปแล้ว สมาชิกสามารถชำระค่าสินค้าโดย การตัดบัญชีธนาคารอัตโนมัติ internet banking, การโอนเงินบัตรเครดิต หรือ เลือก ที่จะไปชำระที่ เซเว่น ได้ตามการซื้อปกติทุกอย่าง )
          ขั้นตอนการใช้งาน e-Wallet แค่เติมเงินเข้า e-Wallet ของตัวเองก่อน จากนั้นก็สามารถซื้อสินค้าได้โดยหักเงินจาก e-Wallet จะสังเกตเห็นว่า หลังจาก LOG IN ที่เว็บ bookbik.com แล้วที่หน้าเว็บก็จะแสดงรายละเอียด         
e-Wallet ของสมาชิก
          สมมติว่า สมาชิกเติมเงินเข้า e-Wallet 200 บาท หลังจากเติมเงินเข้าไปแล้ว e-Wallet ระบบจะแสดงให้เห็นว่า สมาชิกมีเงินใน e-Wallet 200 บาท และสมมติว่า สมาชิกซื้อสินค้า เช่น itunes ราคา 30 บาท โดยเลือกชำระเงินจาก e-Wallet เมื่อทำรายการซื้อเสร็จเรียบร้อยแล้วระบบก็จะตัดเงิน 30 บาทจาก
e-Wallet และจะเหลือเงินใน e-Wallet 170 บาท ซึ่งเงิน 170 บาทที่เหลืออยู่นั้น สมาชิกสามารถเก็บไว้ใช้สำหรับการซื้อสินค้าในครั้งต่อๆได้
(ที่มา http://www.bookbik.com)

ไฟร์วอลล์ (Firewall)
          คือระบบรักษาความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดและปิด การเข้าถึงจากภายนอก (เช่น จากอินเตอร์เน็ต) เข้าถึงเครือข่ายภายใน (เช่น เครือข่ายภายในองค์กร หรือคอมพิวเตอร์ส่วนตัว) ได้ อาจพูดได้ว่า Firewall ก็เหมือนยามหน้าประตูของคอมพิวเตอร์ ซึ่งการเข้าถึงจากภายนอกจะต้องผ่านให้ Firewall ตรวจสอบก่อนว่าสามารถเข้าระบบเครือข่ายภายในได้หรือไม่ Firewall โดยจะมีการกำหนดกฎระเบียบบังคับใช้เฉพาะเครือข่าย ซึ่งหมายความว่าหากการเข้าถึงนั้นถูกต้องตามที่ Firewall กำหนดไว้ ก็จะเข้าถึงเครือข่ายได้ หากไม่ตรงก็จะเข้าถึงไม่ได้ หรือที่เรียกกันว่า Default deny นั่นเอง
(ที่มา www.onestopware.com)

ความคิดเห็น

บทความที่ได้รับความนิยม